ศึกษาพระวรสารนักบุญยอห์นมาครบ 5 บท การตีความใช้เวลาประมาณ 15 ชั่วโมง.. น่าทึ่งกับความรู้จักพระเยซู รู้จักพระเจ้าพระบิดา พระจิต และได้เรียนรู้มากมายเหลือเกิน ก่อนที่จะลืมหมด พ่อขอสรุปไว้ให้ดังนี้ครับ
อะไรคือคำสอนของพระวรสารนักบุญยอห์น... มีมากมายในห้าบทแรก แต่พ่อสรุปดังนี้ มากกว่านี้ต้องไปฟังคำอธิบายในคลิปที่บรรยายไปแล้ว... ที่นี่อาจไม่ได้ครบทุกอย่าง แต่เป็นสรุปที่พ่อนั่งเขียนรวมให้ครับ
ยอห์น บทที่ 1 พระเยซูเป็นใคร เราพบคำตอบในยอห์น บทที่ 1:1-18
1. พระวาจา พระวจนาตถ์ The Word or Logos
2. เป็นพระวาจาที่พระเจ้าทรงสร้างทุกสิ่ง Creator
3. เป็นพระเจ้า God
4. เป็นชีวิต Life
5. เป็นแสงสว่าง Light เหนือ ความมืด
6. เป็นแสงสว่างแท้จริง True Light ที่มาสู่โลก
7. เป็นชาวยิว พระองค์เสด็จมาสู่บ้านเมืองของพระองค์ Son of David
8. เป็นผู้ประทานอำนาจให้เป็นบุตรของพระเจ้า “เชื่อ” Power to become Children of God
9. เป็นผู้ประทับในหมู่เรา The Word in our midst
10. เป็นพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดา Glory of God
11. เป็นพระหรรษทาน Grace
12. เป็นความจริง Truth
13. เป็นผู้ดำรงอยู่ก่อนแล้ว From the Beginning
14. เป็นพระหรรษทานต่อเนื่องกัน grace upon graces
15. เป็นผู้ยิ่งใหญ่เหนือกว่าบัญญัติของโมเสส เพราะเป็นพระหรรษทานและความจริง Grace and Truth
16. เป็นพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้า Only begotten Son
17. เป็นผู้สถิตในพระอุระของพระบิดา Who is in the bosom of the Father
18. เป็นผู้เปิดเผยความจริงให้เราได้รู้ The Revealing of the Father
19. เป็นลูกแกะของพระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาปของโลก
20. เป็น“บุรุษผู้หนึ่งมาภายหลังข้าพเจ้า แต่นำหน้าข้าพเจ้า เพราะอยู่มาก่อนข้าพเจ้า”
21. เป็นผู้ที่ยอห์นเห็นพระจิตเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์เหมือนนกพิราบเหนือพระองค์
22. เป็นผู้ที่ทำพิธีล้างเดชะพระจิตเจ้า
23. เป็นพระบุตรของพระเจ้า”
24. เป็น รับบี แปลว่า พระอาจารย์
25. เป็นพระเมสสิยาห์ หรือพระคริสตเจ้า แปลว่า ผู้รับเจิม
26. เป็นผู้ที่โมเสสในธรรมบัญญัติและบรรดาประกาศกเขียนถึง
27. เป็นพระเยซู บุตรของโยเซฟ ชาวนาซาเร็ธ
28. เป็นประกาศก ทรงเห็นนาธานาแอลใต้ต้นมะเดื่อก่อนฟิลิปจะเรียก
29. เป็นพระบุตรของพระเจ้า
30. เป็นกษัตริย์ของชนชาติอิสราเอล
31. เป็นบุตรแห่งมนุษย์
--------------------------------------
ยอห์น บทที่ 2 งานแต่งงานที่คานา เราเรียนรู้ว่าพระเยซูเป็นใคร พระองค์เป็น...
เรื่องราว บทบาทมากมายของเรื่องราว
-พระมารดาของพระเยซู
-เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว
-หญิงเอ๋ย....
-เวลาของเรายังไม่ไม่ถึง "เวลา" คืออะไร
-"จงทำตามที่ท่านสั่ง"
-ตุ่มหินหกใบ ใช้ใส่น้ำชำระตนตามธรรมเนียมของชาวยิว (โมเสส)
-คำสั่ง จงตักน้ำใส่
-เต็มจนถึงขอบ...
-เหล้าองุ่นที่ดีที่สุด คือ ได้ทำตาม "พระวาจาไ
-บรรดาศิษย์ได้เชื่อในพระองค์
จากบทที่สอง เราได้ทราบว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็น......
1. เป็นพระวาจาเป็นพระบัญญัติที่ยิ่งใหญ่กว่าบัญญัติของโมเสส คำสั่งให้เติมน้ำในตุ่ม และสั่งให้นำไปให้เจ้าภาพ
2. เป็นเหล้าองุ่นใหม่ ที่ดีกว่าเดิม เติมเต็มสิ่งที่ขาดไป
3. เป็นความร้อนรนเรื่องพระวิหาร (ชำระพระวิหาร)
4. เป็นผู้ประกาศว่า พระเจ้าเป็นพระบิดาของพระองค์ “บ้านของพระบิดา”
5. เป็นผู้ทรงทราบทุกสิ่งในใจมนุษย์
-------------------------------------------------------
ยอห์น บทที่ 3 พระเยซูเจ้าสนทนากับนิโคเดมัส เราเรียนรู้อีกมากว่าพระเยซูเป็นใคร
1. เป็นพระอาจารย์ที่มาจากพระเจ้า
2. เป็นรับบีเหนือกว่าบรรดารับบีทั้งหลาย
3. เป็นแสงสว่างที่นิโคเดมัสมาหาในเวลากลางคืน
4. เป็นผู้รู้จักพระจิตเจ้า น้ำแห่งศีลล้างบาป และพระบิดา
5. เป็นผู้ประกาศศีลล้างบาปและการเกิดใหม่จากเบื้องบน
6. เป็นผู้ประกาศพระอาณาจักรพระเจ้า
7. เป็นผู้มีความรู้ ร่วมกับพระเจ้าพระบิดาและพระจิต “เราพูดถึงเรื่องที่เรารู้”
8. เป็นผู้ที่มาจากเบื้องบน
9. เป็นพระบุตรแห่งมนุษย์ที่ลงมาจากสวรรค์ (ไม่มีใครเคยขึ้นไปบนสวรรค์)
10. เป็นบุตรแห่งมนุษย์ที่จะต้องถูกยกขึ้น
11. เป็นพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระบิดา ที่พระบิดามอบให้โลกเพราะทรงรักโลกอย่างมาก
12. เป็นพระบุตรที่โลกจะได้รับความรอดเดชะพระองค์
13. เป็นผู้ที่ใครไม่เชื่อในพระองค์ก็ถูกตัดสินอยู่แล้ว...เพราะไม่ได้เข้าใกล้ความสว่าง
14. เป็นผู้ที่มาจากเบื้องบนที่ย่อมอยู่เหนือทุกคน
15. เป็นผู้ที่เป็นเจ้าบ่าว ในคำกล่าวของนักบุญยอห์น
16. เป็นผู้ที่ต้องยิ่งใหญ่ขึ้น และยอห์นจะต้องลดลง
17. เป็นพระบุตรที่พระเจ้าประทานพระจิตเจ้าให้เขาอย่างไม่จำกัด
18. เป็นผู้ที่พระบิดาทรงรัก (พระบุตร) และทรงมอบทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระบุตร
------------------------------------------------------------
คำถามเพื่อการศึกษาและไตร่ตรอง ยอห์น บทที่ 1
1. เรารู้จักพระเยซูมากขึ้นกว่าเดิมเพียงใดเมื่อเราได้ศึกษาพระวรสารนักบุญยอห์นบทที่หนึ่งแล้ว
2. “พระวจนาตถ์” (The Word หรือ Logos ในภาษากรีก) เราเข้าชัดเจนกว่าเดิมไหม? และคำว่าพระวาจา บัดนี้เราเห็นพลังของพระวาจาในการสร้างของพระเจ้ามากขึ้นเพียงใด
3. เราเห็นชัดขึ้นเพียงใดว่าพระเยซูเป็น “พระวาจา” เป็น “ชีวิต” และเป็น “แสงสว่าง”?
4. มากกว่าการกล่าวถึงในมัทธิวและลูกาเรื่องการบังเกิด เราเห็นชัดไหมว่า พระกุมารในรางหญ้า หรือการบังเกิดในค่ำคืนที่มืดมิด... พระกุมารที่บังเกิดมานั้นมีความหมายมากกว่าที่เราเคยรับรู้มากเพียงใด
5. “พยาน” ไม่ใช่แสงสว่าง แต่เป็น “พยานถึงแสงสว่าง” พยานที่พระวรสารนักบุญยอห์นกล่าวถึงในบทที่หนึ่งนี้คือใคร?
6. พระองค์เสด็จมาสู่บ้านเมืองของพระองค์ แต่ประชากรของพระองค์ไม่ยอมรับพระองค์ คำถามคือ “บ้านเมืองของพระองค์และประชากรของพระองค์นี้คือ”?
7. คนที่จะได้รับอำนาจให้เป็นบุตรของพระเจ้า คือ ทุกคนที่..................ในพระวจนาตถ์?
8. พระกุมารที่บังเกิด คือ พระเยซูนั้น คือ “พระสิริของพระเจ้าและพระหรรษทาน และความจริง” เราเห็นความจริงนี้ชัดขึ้นหรือไม่ และมากขึ้นเพียงใด?
9. โมเสสมอบบัญญัติ แต่บัญญัตินั้นไม่ได้นำความรอดมาให้ด้วยตนเอง ตรงกันข้าม พระหรรษทานและความจริงที่นำความรอดนี้มาทางใคร?
10. นักบุญยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ท่านเขียนพระวรสารเพียงบทที่หนึ่งที่เราได้อ่านแล้ว เราเห็นความล้ำลึกของพระวรสารของท่านเพียงใด?
11. “พระแมสซียาห์ หรือพระคริสตเจ้า แปลว่าอะไร”?
12. “นาธานาแอล” แปลว่าอะไร?
13. นอกจากนาธานาแอลประกาศว่าพระเยซูคือพระบุตรของพระเจ้าแล้ว นาธานาแอลยังยืนว่า พระองค์เป็น..............................................ของชาติอิสราเอล?
14. นักบุญยอห์นบัปติสได้ชี้แก่บรรดาศิษย์ของท่านว่า “นี่คือชุมพาน้อยของพระเจ้าผู้ทรงลบล้างบาปของโลก” คำถามคือ ศิษย์สองคนที่ได้ยินและติดตามพระเยซูเจ้าไปนีคือใคร?
15. ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย แต่ใครเล่าที่เปิดเผยพระเจ้าพระบิดาให้เรารู้?
16. ไตร่ตรองจริงๆต่อยอห์นบทที่หนึ่ง
a. พี่น้องเคยอ่านยอห์นบทนี้ได้ลึกซึ้งเช่นนี้มากก่อนหรือไม่
b. ยอห์นบทที่ 1:1-18 ใช้อ่านทุกเช้าวันสมโภชพระคริสตสมภพ วันที่ 25 ธันวาคมทุกปี เราเห็นคุณค่า และความเหมาะสมจริงๆไหมที่พระวรสารตอนนี้ใช้อ่านในวันสมโภชดังที่พิธีกรรมจัดไว้
c. ชีวิตของเราจะเดินในความมืดต่อไปได้อย่างไร จะเดินในกระแสโลกีย์นิยมได้อย่างไร ถ้าเราได้พบพระวาจา ถ้าเราได้รักพระวาจา และถ้าเราได้พบพระองค์เป็น “แสงสว่างแท้ และเป็นชีวิต”
d. อย่าปล่อยให้ความมืดมนกลบความสว่างของพระคริสตเจ้าในชีวิตเรา และอันที่จริงความมืดนั้นกลืนแสงสว่างไม่ได้ ถ้าเป็นแสงสว่างแท้คือพระเยซูคริสตเจ้า
e. ฉลองคริสตมาสปีนี้ พระวาจาที่เราได้ศึกษาไตร่ตรอง น่าจะทำให้เราได้ฉลองคริสตมาสแห่งแสงสว่างและชีวิต คริสตมาสแห่งพระหรรษทานและความจริง มากกว่าที่เคยใช่ไหม
f. อาศัยการศึกษาพระวาจา เราควรได้เป็นผู้ใหญ่ในความเชื่อ เห็นชัดในความจริงและรักอีกทั้งหวังในความจริง คือ “พระเยซู” “พระอาจารย์” “พระเจ้า” ของเราจริงๆใช่ไหม
g. พี่น้องเห็นคุณค่าของการศึกษา ตีความ และไตร่ตรองพระวาจา หลังจากศึกษายอห์นบทที่หนึ่งบ้างหรือไม่
--------------------------------------------------
ยอห์น บทที่ 4 เรื่องหญิงชาวสะมาเรีย และเรื่องการรักษาบุตรของข้าราชการแห่งคาเปอร์นาอุม
เรื่องหญิงชาวสะมาเรีย
• พระเยซูเจ้าจำเป็นต้องผ่านสะมาเรียเพื่อไปกาลิลีกระนั้นหรือ... จริงๆแล้วไม่จำเป็นและปกติจะไม่ผ่านสำหรับชาวยิว แต่ความจำเป็นครั้งนี้คือการเสด็จผ่านไปเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับชาวสะมาเรีย ประชากรอิสราเอลในอาณาจักรเหนือ คนที่เป็นเลือดผสมกับต่างชาติเพราะการกระทำและนโยบายของอัสซีเรียที่ได้ยึดครองสะมาเรียตั้งแต่ปี 721 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรสะมาเรียที่เคยได้รับอิทธิพลของการอพยบคนชาตอื่นๆทั้งหมด 5 ชาติ ให้เข้ามาอาศัยอยู่ในสะมาเรีย มาพร้อมกับพระของพวกเขาที่สำหรับชาวอิสราเอล พระเหล่านี้คือพระเท็จเทียม การบูชาพระเท็จเทียม พระต่างชาติ แม้มีความเป็นอิสราเอลเหลืออยู่แต่สำหรับชาวยิว คนในสะมาเรียถูกถือว่าเป็นสายเลือดที่ไม่บริสุทธิ์ และเป็นการบูชาพระเท็จเทียมไปแล้ว
• พระเยซูจำเป็นต้องผ่านสะมาเรีย “จำเป็น” เพื่อการพบปะกับหญิงชาวสะมาเรีย กับชาวสะมาเรีย เพื่อทุกคนจะได้รู้ เชื่อในพระองค์ว่าพระองค์เป็นพระแมสซียาห์หรือพระคริสต์ ที่พวกเขารอคอย เป็นประกาศกแท้จริง
• ยอห์นนำเสนอแบบสองเวทีเกิดขึ้นพร้อมกัน เทคนิคของยอห์น... พระองค์เหนื่อย “เหนื่อย” เป็นการเล่นคำในภาษากรีก เหนื่อยจากพันธกิจตามพระประสงค์ของพระบิดา คือ นำความรอดพ้นมาสู่ทุกคน ยอห์นใช้เทคนิคที่บอกว่า
o เวทีแรกคือ ขณะที่พระองค์ประทับนั่งบนขอบบ่อน้ำยาโคบ และมีหญิงชาวสะมาเรียคนนี้มาตักน้ำ
o เวลานั้น อีกเวทีหนึ่งคือบรรดาศิษย์ไปซื้ออาหารในเมือง
• การสนทนากับพระเยซูเจ้า พระองค์เริ่มก่อนด้วยการขอน้ำดื่มจากหญิงชาวสะมาเรีย... ความประหลาดใจที่ชาวยิวพูดกับชาวสะมาเรีย นางประหลาดใจ และการสนทนาก็เริ่มขึ้น ยอห์นใช้เทคนิคของ การสนทนา dialogue ค่อยๆ นำพาไปสู่การเห็นภาพที่ลึกซึ้ง
o พระองค์ประทับนั่งที่ขอบบ่อ สนทนา และเป็นฝ่ายเสนอน้ำที่ให้ชีวิตแก่เธอ ถ้าเธอรู้ว่าคนที่ขอน้ำนี้เป็นใคร... (ความรู้ การได้พบกับพระองค์ นางจะเข้าใจพระองค์)
o เทคนิคที่ยอหน์ใช้ “ความเข้าใจผิด” “ท่านเจ้าขา ท่านไม่มีที่ตักน้ำ บ่อนี้ก็ลึก ท่านจะไปเอาน้ำที่ให้ชีวิตมาจากไหน... ท่านยิ่งใหญ่กว่ายาโคบบรรพบุรุษของเราหรือ...” และพระเยซูเจ้าอธิบาย ยกระดับขึ้นไปจากเดิมมาก พาไปสู่ความรู้ความเข้าใจใหม่โดยสิ้นเชิง น้ำที่ดื่มแล้วจะไม่กระหายอีก น้ำที่จะกลายเป็นธารน้ำในตัวเองที่ไหลรินเพื่อชีวิตนิรันดร
o และทันทีจากผู้ที่มีที่ตักน้ำ เมื่อได้ฟัง.. นางกลับเป็นฝ่ายขอน้ำนั้นจากพระเยซู เพื่อจะไม่กระหาย ไม่ต้องมาตักน้ำจากบ่อนี้อีก สำคัญคือเพราะได้พบพระเยซูน้ำทรงชีวิตนิรันดร
• ฉากเปลี่ยนไปทันที... เมื่อนางเป็นฝ่ายขอน้ำทรงชีวิต ฉากเปลี่ยนไปที่เรื่อง “การนมัสการ” คำสั่งให้ไปเรียกสามีมา มีนัยหมายถึงชาวสะมาเรีย ที่เคยมีพระเท็จเทียมมาก่อนในอดีตเป็นดังสามีของตน พระเท็จเทียมจากชาติต่างๆ ห้าชาติ ตามนโยบายของอัสซีเรีย ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สมัยพระเยซู จักรวรรดิที่ครอบครองคือโรมัน ก็ไม่ใช่พระเจ้าเที่ยงแท้ของตน มีแต่พระยาห์เวห์เท่านั้น การสนทนาจึงยกระดับไปสู่การนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้ง.. แต่สำหรับชาวยิวกับสะมาเรีย ที่ไหนล่ะ... เยรูซาเล็ม หรือที่ภูเขาที่สะมาเรีย... ระดับเปลี่ยนไปทั้งหมด ไม่ใช่ทั้งสอง แต่การนมัสการแท้ต่างหาก
o พระเจ้าเป็นจิต
o ผู้นมัสการต้องนมัสการด้วยจิตและตามความจริง
o จนกระทั่งการสนทนามาถึงประเด็นสำคัญ คือ I AM พระเยซูเจ้าตรัส “เราคือผู้นั้นที่กำลังพูดกับเธอ”
• บรรดาศิษย์กลับมา หญิงชาวสะมาเรียจากไป “นางทิ้งไหนน้ำไว้และกลับเข้าไปในเมือง ไปประกาศถึงพระองค์ผู้ที่นางพบ และน่าจะเป็นพระแมสซียาห์ เป็นประกาศก”
o การทิ้งไหน้ำไว้เป็นเครื่องหมายสำคัญของการได้พบพระเยซูเจ้า น้ำทรงชีวิต ไม่จำเป็นต้องมีที่ตักน้ำสำหรับบ่อน้ำยาโคบอีกแล้ว นั่นคือเจตนาของยอห์น เพราะศิษย์พระเยซูต้องทิ้งเครื่องมือหากินเดิมๆ และไปประกาศพระเยซู หญิงคนนี้ทิ้งไหน้ำ และไปประกาศเรื่องพระเยซูที่นางได้พบ
o บรรดาศิษย์ทูลให้พระองค์ทานอาหาร... เทคนิคเข้าใจผิดมาอีกครั้ง “มีใครนำอะไรมาให้พระองค์รับประทานหรือ” แต่พระเยซูเจ้าอธิบาย.. อาหารของพระองค์ คือ การทำ “งาน” ตามพระประสงค์ของพระบิดา พระองค์หิว กระหาย ทำให้พระประสงค์ของพระบิดาสำเร็จ (แปลกใจไหม ที่เฉพาะพระวรสารนักบุญยอห์น เมื่อจะทรงสิ้นพระชนม์บนกางเขน พระองค์ร้องว่า “เรากระหาย” ความกระหายของพระองค์คือกระหายทำตามพระประสงค์ของพระบิดาที่ทรงกระทำกำลังจะสำเร็จบนกางเขน คือ ตายเพื่อไถ่บาปมนุษย์ทั้งมวล และบัดนั้น กำลังจะสำเร็จ จนร้องว่า “จบบริบูรณ์” แล้วเอนพระเศียรส่งพระจิตออกไป หรือสิ้นพระชนม)
o ดังนั้น อาหารของพระเยซู ความหิวกระหายของพระเยซู คือ การทำตามพระประสงค์ของพระบิดาอย่างแท้จริง และพระประสงค์ของพระบิดาที่สะมาเรียที่พระองค์จำเป็นต้องผ่านครั้งนี้คือ เพื่อเขาจะได้เชื่อในพระบุตรของพระเจ้าและได้รับความรอด และก็เป็นเช่นนั้น
• ชาวสะมาเรียทั้งเมืองออกมา พวกเขาได้พบพระองค์ และได้เชื่อในพระองค์และได้ประกาศด้วยความสำคัญมาก คือ ไม่ได้เชื่อเพราะคำของหญิงแล้ว แต่ได้เห็นและได้เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นพระผู้ไถ่โลก คือ พระองค์นำความรอดมาสู่ไม่ใช่เพียงชาวยิว ไม่ใช่เพียงชาวสะมาเรียก พระวรสารนักบุญยอห์นนำเสนอชัดเจนว่าพระองค์เป็นความรอดพ้นสำหรับมนุษยชาติทุกคน
การรักษาบุตรข้าราชการแห่งคาเปอร์นาอุม “ความเชื่อในพระเยซูที่เป็นความเชื่อบริสุทธิ์ที่สุด คือเชื่อในพระวาจาของพระองค์”
• เราได้เห็นการเดินทาง จากคาเปอร์นาอุม มาที่เมืองคานา (ที่พระองค์เคยเปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่น เทียบ ยน 2) ข้าราชการเดินทางมาเพื่อวิงวอนพระองค์ให้เสด็จไปรักษาบุตรของตน
• ความรู้จากภาษาเชิงประชดประชัน (Irony) “ถ้าท่านไม่ได้เห็นเครื่องมาย หรือปาฏิหาร ท่านจะไม่เชื่อ” ความเชื่อดูเหมือนต้องมาจากการได้เห็น ...
• แต่เมื่อเขารบเร้าให้พระองค์เสด็จไปกับเขา... พระองค์เพียงตรัส “จงไปเถิด ลูกของท่านมีชีวิต”
o ข้าราชการได้ยิน
o เขาได้ฟัง
o เขาได้เชื่อและกลับไป
• เดินไกลจากคานา กลับไปคาเปอร์นาอุม... คงเป็นเส้นทางแห่งความเชื่อที่สุดจริงๆ เดินทางประมาณหนึ่งวันการเดินทางด้วยระยะทาง... มีแต่ความเชื่อใน “คำสั่ง” ของพระเยซู และเขาได้พบว่าบุตรพ้นอันตราย ณ เวลาที่พระองค์ตรัส “พระวาจา” ที่เขาได้เชื่อและเดินกลับมา
• สำหรับพระวรสารนักบุญยอห์น ความเชื่อที่บริสุทธิ์ที่สุด.. คือความเชื่อในพระวาจา ยอมรับพระวาจา กลับไปดูบทนำ ยน 1:12 ผู้ที่เชื่อในพระองค์ “ยอมรับ คือเชื่อใน...” นั่นคือประเด็นสำคัญที่สุด
• ข้าราชการคนนี้ น่าจะเป็นคนเดียว กับที่พระวรสารสหทรรศน์เรียกว่า “นายร้อย” เขาน่าจะเป็นคนต่างชาติ เขาไม่ใช่ยิว ไม่ใช่สะมาเรีย เป็นคนต่างชาติที่เขาได้เชื่อสุดจิตใจ “เพียงพระวาจา” เท่านั้น เพียงพอ และนี่คือเจตนาหลักของพระวรสารนักบุญยอห์นจริงๆ
------------------------------------------------------
ยอห์น 5 การรักษาที่บ่อน้ำเบเธสดา
• ณ การฉลองการรองรับพระบัญญัติ... ฉลองเปนเตกอสเต บัญญัติที่ได้รับที่ภูเขาซีนัย เป็นบัญญัติที่สำคัญที่สุด บัญญัติที่โมเสสรับมาจากพระเจ้า ชาวอิสราเอลต้องเดินไปกับพระบัญญัติ 40 ปีเร่ร่อนยากที่จะเข้าสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญา... คือ ยากที่จะรอดได้เพียงเพราะบัญญัติ เดินทางจริงๆ เร่รอน น่าจะ 38 เพราะตั้งค่ายที่ซียนัยประมาณสองปี ขณะที่ชาวอิสราเอลเดินทางในถิ่นทุระกันดาร พวกเขาเดินไปกับบัญญัติของพระเจ้า และเรื่องราวเล่าอยู่ในหนังสือปัญจพบรรพ หนังสือที่ได้ชื่อว่า “โตราห์” หรือ “กฎหมาย” ชีวิต อยู่กับ 5 เล่มแรกนี้ นอกจากนั้น มีประเด็นที่น่าคิดเวลานี้ สำหรับยอห์นบทนี้
o บ่อน้ำเบเธสดา มีระเบียงล้อมอยู่ 5 ด้าน (เปรียบกับหนังห้าเล่มของโมเสส หรือ โตราห์)
o ชายคนนั้นป่วยมานาน 38 ปี (ตัวเลขของการเดินทางจริงๆถิ่นกันดาร 40 ปี)
o โตราห์ที่พวกเขาถือว่าเป็นความรอด คือ หนังสือ 5 เล่มแรกของพระคัมภีร์
o ชีวิตความสัมมพันธ์ของชาวอิสราเอล และชาวยิว ณ สมัยพระเยซู คือ หนังสือ 5 เล่มแรกคือกฎแห่งความสัมพันธ์ กฎแห่งความศักดิ์สิทธิ์หรือกฎแห่งความรอดนี้เอง
• ตัวเลขทุกตัวที่ปรากฎในเรื่องเล่าบทนี้น่าคิดจริงๆ ... ชายคนนี้ป่วยมานาน 38 ปี เขานอนรออยู่ริมสระเบเธสดา ที่มีระเบียง 5 ด้าน ประหนึ่งว่ากอดอยู่กับโตราห์ 5 เล่มที่เป็นพระคำศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 38 ปีรอคอยความรอดพ้น แต่ก็แย่งกันลงไปก่อนไม่มีโอกาสสำหรับเขา... เหมือนการเดินในแผ่นดินกันดารยาวนาน ไม่ไกลเลย แต่ต้องพลาดหลายครั้งจนยาวนาน 38 ปี... ที่สุด
• พระวาจา พระเยซู พระวจนาตถ์ เสด็จมา... เพียงวาจาที่ตรัสและตรัสสั่ง สั่งเหนืองคำสั่งของบัญญัติเดิมเรื่องวันสับบาโต “ลุกขึ้น แบกแคร่ที่นอนแล้วเดินไป” สิ่งที่ต้องห้ามคือแบกแคร่ที่นอน ตามบัญญัติของโมเสส คือ วันสับบาโต แต่ที่นี่ “คำสั่ง” ของพระเยซู พระองค์ยิ่งใหญ่กว่าโมเสส พระวาจาทรงชีวิต ทรงอำนาจ และเปี่ยมพลังที่สุด... คือ สิ่งที่พระวรสารนักบุญยอห์นบันทึกไว้
• พระองค์ คือ “ชายคนนั้น” (Ecce Homo) สำนวนที่หมายถึงพระเยซูในพระวรสารนักบุญยอห์น” คือคนที่ “พูด หรือ สั่ง หรือเปล่งวาจาสั่ง” ให้แบกแคร่ในวันสับบาโต
• ชาวยิว สายเลือดเดียวกับพระองค์ ไม่ยอมรับ แม้พวกเขารักษาเคร่งครัด ยึดมั่นบัญญัติของโมเสส ได้เห็นอัศจรรย์การรักษา แต่เขาไม่พูดถึง เขาสนใจแต่ “ใครสั่งให้แบกแคร่” พวกเขาไม่ได้สนใจสิ่งที่อิสยาห์ประกาศกยิ่งใหญ่ที่กล่าวไว้ “คนง่อยจะเดินได้ คนตาบอดจะแลเห็น ฯลฯ” พวกไม่ยอมรับ ไม่ต้องการลดตนเองลง ไม่ยอมจนไม่เห็นสิ่งที่พระองค์กระทำ... สนใจแต่พระองค์มีสิทธิ์อะไรมาละเมิดวันสับบาโต นี่คือความกระด้างของหัวใจ ที่ในพระวรสารนักบุญยอห์น ชาวสะมาเรียเชื่อ คนต่างชาติเชื่อ แต่ชาวยิวไม่เชื่อ ไม่ยอมรับ แต่กลับปฏิเสธ เบียดเบียนและจะต้องการฆ่าพระองค์
• ที่สุด...บทสอนจากถ้อยคำของพระเยซู.. ต่อชาวยิวเน้นให้เห็นสุดยอดแห่งการเปิดเผย พระเจ้าเป็นพระบิดา พระองค์เป็นพระบุตร พระองค์มาเพื่อเปิดเผยพระบิดา ทำตามพระประสงค์ของพระบิดา และเพื่อทุกคนเชื่อในพระองค์จะได้เชื่อในพระบิดาและได้รับความรอดพ้น พ้นจากการตัดสินที่ไม่เชื่อ... ชีวิตนิรันดรมีพระองค์และในพระบิดา ใครต้อนรับ เชื่อในพระองค์ได้รับชีวิตนิรันดร...
• ยอห์นบทที่ 5 นี้เปิดความเข้าใจ ความรู้ลึกซึ้งถึงพระเจ้าพระบิดา และพระบุตร ในความสัมพันธ์อย่างน่าทึ่งที่ทุกคนสามารถรู้จัก ได้รับความรอด จากพระบิดา โดยทางพระบุตรคือพระเยซู
• ไม่น่าเชื่อว่า อ่านพระวรสารนักบุญยอห์น 5 บท เราจะได้พบพระคริสตเจ้า พบพระบิดา และเข้าถึงสัจจธรรมแห่งความจริง เทววิทยา ความรู้จัก ความรัก ที่แสนทรงพลังของพระวาจาของพระเจ้าได้ถึงเพียงนี้