Get Adobe Flash player

สรุปพระสมณลิขิตเตือน Verbum Domini

 

พระสมณลิขิตเตือน “VERBUM DOMINI” (พระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้า) เป็นพระสมณลิขิตเตือนของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 ที่ให้ไว้กับบรรดาพระสังฆราช คณะสงฆ์ ผู้ถวายตนและฆราวาสชายหญิง เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2010 ในเรื่องพระวาจาของพระเจ้าในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร หลังสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 12

พระสมณลิขิตฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 3 ภาค ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็นหัวข้อสำคัญดังนี้

* อารัมภบท

1. ภาคที่หนึ่ง – พระวาจาของพระเจ้า

1.1 พระเจ้าผู้ตรัส

1.2 มนุษย์ตอบสนองพระดำรัส

1.3 การอธิบายความหมายพระคัมภีร์ในพระศาสนจักร

2. ภาคที่สอง – พระวาจาในพระศาสนจักร

2.1 พระวาจาของพระเจ้าและพระศาสนจักร

2.2 พิธีกรรมเป็นกรอบเฉพาะของพระวาจา

2.3 พระวาจาของพระเจ้าในชีวิตของพระศาสนจักร

3. ภาคที่สาม – พระวาจาสำหรับโลก

3.1 พันธกิจของพระศาสนจักรคือการประกาศพระวาจาของพระเจ้าให้โลกรู้

3.2 พระวาจาของพระเจ้าและการมีบทบาทในโลก

3.3 พระวาจาของพระเจ้าและวัฒนธรรม

3.4 พระวาจาและการเสวนาระหว่างศาสนาต่าง ๆ

* บทสรุป

 

เนื้อหาโดยสรุปของแต่ละส่วน มีดังนี้

* อารัมภบท

พระ วาจาคือข่าวดี (1) ทำให้เรายินดี (2) เราจึงต้องแบ่งปันความยินดีนี้แก่ทุกคนในสมัยของเราด้วย สังฆธรรมนูญเรื่อง “การเผยความจริงของพระเจ้า” (DEI VERBUM) ทำให้มีความกระตือรือร้น ต่อพระวาจามากขึ้นในพระศาสนจักร (3) ปีนักบุญเปาโลต้องช่วยให้เรากระตือรือร้นมากขึ้นในการประกาศพระวาจาอย่างท่าน (4) เพื่อบอกให้มนุษย์ทุกคนทราบว่า “พระวจนาตถ์” (พระวาจา) มาประทับอยู่กับเรา ให้เราอยากอยู่ใกล้ชิดกับพระวาจาของพระองค์ และมีความรักต่อพระวาจามากขึ้น(5)

 

1. ภาคที่หนึ่ง – พระวาจาของพระเจ้า

1.1 พระเจ้าผู้ตรัส

  • พระเจ้าทรงสนทนากับมนุษย์ (
  • ทรงเนรมิตสร้างมนุษย์ (
  • คริสตวิทยาเรื่องพระวาจา
    • พระเจ้าทรงถ่อมองค์ลงมาประทับอยู่กับมนุษย์
    • มาเป็นมนุษย์เหมือนเรา ตรัสด้วยถ้อยคำมนุษย์ (
    • ย่อพระองค์ลงเป็นทารกในรางหญ้า
    • ยอมดำเนินชีวิตอย่างยากจน ทำตามพระประสงค์ของพระบิดายอมแม้กระทั่ง “เงียบ” ในความตายบนไม้กางเขน (12)
    • การหลั่งพระโลหิตเป็น “พันธสัญญาใหม่นิรันดร” ทำให้มนุษย์พ้นจากการเป็นทาส พบกับพระเจ้าได้อีก การกลับคืนชีพ แสดงว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองทุกสิ่ง (Pantocrator) เป็นแสงสว่างส่องโลก (12)
    • “ถ้อยคำของพระคัมภีร์” สำเร็จบริบูรณ์ในธรรมล้ำลึกปัสกา ซึ่งนำความหวัง ความยินดี และความรอดพ้นมาให้มนุษยชาติ (13)
    • ธรรมล้ำลึกต่าง ๆ ที่ทรงเปิดเผยมีเอกภาพ “เอกภาพที่ลึกซึ้งระหว่างการเนรมิตสร้างกับการไถ่กู้ซึ่งเป็นเสมือนการ เนรมิตสร้างขึ้นใหม่” ดังตัวอย่างที่กาลิเลโอ (Galileo) เคยใช้เปรียบเทียบสิ่งสร้างเหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง หรือเป็นบทเพลง “ซิมโฟนี” บทหนึ่ง – มีพระเยซูเจ้าเป็นผู้บรรเลง “เดี่ยว” (solo) – แต่ทำนองอื่น ๆ ก็ประสานกันอย่างไพเราะมีระเบียบไม่สับสน (13)
  • มิติอันตกาลแห่งพระวาจาของพระเจ้า – การเปิดเผยสำเร็จสมบูรณ์ในพระคริสตเจ้า ไม่มีอะไรจะต้องเปิดเผยเป็นทางการอีกเพื่อบรรลุถึงความรอดพ้นนิรันดร (ต้องแยกแยะการเปิดเผยส่วนตัว – ซึ่งไม่มีอะไรใหม่ – แต่อาจช่วยให้เข้าใจการเปิดเผยทางการได้ดีขึ้น) (14)
  • พระจิตเจ้ายังคงสอนเราต่อมาในพระศาสนจักร ในการเทศน์สอน เช่นเดียวกับที่ได้ดลใจผู้เขียนพระคัมภีร์ (15-16)
  • พระจิตเจ้าทรงทำงานเป็นพิเศษในพระศาสนจักรผู้มีอำนาจสอน หรือ Magisterium (17-18)
  • การดลใจ คือความคิดหลักเพื่อเข้าใจว่าข้อความในพระคัมภีร์เป็นพระวาจาของพระเจ้าในคำพูดของมนุษย์ การศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงขั้นตอนของการดลใจย่อมจะนำเราให้เข้าใจความจริงที่อยู่ในหนังสือต่างๆ ของพระคัมภีร์ได้ดีขึ้น การค้นคว้าทางเทววิทยาได้คิดคำนึงอยู่เสมอว่า การดลใจและความจริงเป็นความคิดสองประการที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายความหมายของพระคัมภีร์ในพระศาสนจักร(
  • พระบิดา บ่อเกิดของพระวาจา – ทรงเปิดเผยแผนการของพระองค์ในพระบุตร – พระจิต เจ้าทรงนำเราไปสู่ความจริง (20)
  • ความเงียบแห่งไม้กางเขนก็ตรัสกับเราด้วย (

 

1.2 มนุษย์ตอบสนองพระดำรัส

  • มนุษย์ได้รับเรียกให้มารับพันธสัญญากับพระวาจา (
  • พระเจ้าทรงฟังและตอบคำถามของมนุษย์ – เราจึงต้องเปิดใจฟัง และสนทนากับพระองค์ (23-24)
  • “ความเชื่อ” คือการฟังพระวาจาด้วยความนอบน้อม (25)
  • “บาป” คือการไม่ยอมฟังพระวาจาของพระเจ้า (26)
  • พระมารดามารีย์เป็นแบบอย่างการฟังพระวาจา และทรงเป็น “มารดาแห่งความเชื่อ” (27) มารียวิทยาและเทววิทยาเรื่องพระวาจาจึงสัมพันธ์กัน – บท Magnificat สะท้อนท่าทีของพระนางมารีย์ต่อพระวาจา (28)

 

1.3 การอธิบายความหมายพระคัมภีร์ในพระศาสนจักร

  • พระศาสนจักรคือภูมิหลังดั้งเดิมของการอธิบายความหมายพระคัมภีร์ – เราจึงต้องคำนึงถึงความเชื่อของบรรดาปิตาจารย์ และของพระศาสนจักรส่วนรวม การฟังพระวาจาของพระเจ้าทำให้เรามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในพระ ศาสนจักร และกับทุกคนที่ดำเนินชีวิตในความเชื่อ(29-30)
  • การศึกษาพระคัมภีร์ต้องเป็นเสมือนวิญญาณของเทววิทยา จำเป็นต้องมองสภาพปัจจุบันของการศึกษาพระคัมภีร์ และความสำคัญของการศึกษานี้ในการศึกษาเทววิทยาอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่างานอภิบาลของพระศาสนจักรและชีวิตจิตของบรรดาผู้มีความเชื่อจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่อย่างมากว่าการอธิบายความหมายพระคัมภีร์มีความสัมพันธ์กับเทววิทยาอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด (
  • พระศาสนจักรยินดีรับการศึกษาค้นคว้าพระคัมภีร์ในการวิเคราะห์ด้านประวัติ ศาสตร์ – พระสมณสาสน์ Providentissimus Deus (1893); Divino afflante Spiritu (1943) สอนว่าพระคัมภีร์ไม่ขัดกับความรู้ด้านวิชาการ (32-33)
  • เราต้องยึดถือหลักการอธิบายความหมายพระคัมภีร์ของสภาสังคายนา
  1. Analogia fidei (เอกภาพของความเชื่อ) ความเข้าใจพระคัมภีร์ต้องไม่ขัดกับข้อความเชื่อ (34)
  2. ต้องไม่แยกการศึกษาเป็น 2 ระดับ – ระดับวิเคราะห์เทววิทยา และระดับวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ (ทางโลก) แต่ต้องควบคู่กันไป (35)
  3. ต้องใช้ความเชื่อและเหตุผลเข้าสัมผัสกับพระคัมภีร์ (เทียบพระสมณสาสน์ Fides et ratio ของพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2, 1998) (36)
  4. ต้องให้ความสำคัญแก่วิธีอธิบายของบรรดาปิตาจารย์ด้วย (ความหมายต่างๆของพระคัมภีร์ : ได้แก่ความหมายตามตัวอักษร – ความหมายทางจิตใจ – ความหมายเกี่ยวกับความประพฤติ (37)
  5. จำเป็นต้องข้ามพ้น “ตัวอักษร” (38)
  6. ต้องคำนึงถึงเอกภาพของพระคัมภีร์ – แม้ใช้เวลามากกว่า 1,000 ปีเขียนขึ้น (39)
  7. ความสัมพันธ์ระหว่าง พันธสัญญาเดิม และ พันธสัญญาใหม่ - “พันธสัญญาใหม่ซ่อนอยู่ในพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาเดิมปรากฏชัดในพันธสัญญาใหม่” (40-41)
  • ต้องจำไว้ว่าข้อความบางตอนในพระคัมภีร์ยังคลุมเครือ เข้าใจได้ยาก ไม่ชัดเจน เพราะการเปิดเผยมีขั้นตอน – พันธสัญญาเดิมสมบูรณ์ขึ้นในพันธสัญญาใหม่ (42)
  • คริสตชน – ชาวยิว – พระคัมภีร์ – ต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน(43)
  • การอธิบายพระคัมภีร์ตรงตามตัวอักษรแบบมูลฐานนิยม (
  • ผู้อภิบาล – นักเทววิทยาและผู้อธิบายความหมายพระคัมภีร์ต้องเสวนากัน (45)
  • พระคัมภีร์และงานคริสตศาสนิกสัมพันธ์ - ต้องพยายามขจัดอคติต่อกัน (
  • การศึกษาเทววิทยา ต้องมีฐานจากพระคัมภีร์ และช่วยส่งเสริมชีวิตจิต (
  • ชีวิตของผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นการอธิบายพระคัมภีร์อย่างดี เช่น นักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู (ความรัก) – นักบุญอันตนแห่งอียิปต์, น.ฟรังซิสแห่งอัสซีซี (ความยากจน) ฯลฯ (48)
  • พระวาจามีความสัมพันธ์กับความศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสนจักร – ขอให้เราเป็นเช่นดินดีที่จะทำให้พระวาจาบังเกิดผลเต็มที่ (49)

 

 

2. ภาคที่สอง – พระวาจาในพระศาสนจักร

2.1 พระวาจาของพระเจ้าและพระศาสนจักร

  • พระวาจา (พระวจนาตถ์) ประทับในพระศาสนจักรเหมือน “Shekinah” (การประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้าในกระโจมที่ประทับ) ในพันธสัญญาเดิม (50)
  • พระคริสตเจ้าประทับอยู่ตลอดเวลาในชีวิตของพระศาสนจักร (

 

2.2 พิธีกรรม เป็นกรอบเฉพาะของพระวาจา

  • พิธีกรรมเป็นโอกาสที่จะทำให้พระวาจามีความหมาย (
  • พระคัมภีร์และศีลศักดิ์สิทธิ์ จารีตพิธีแสดงความหมายของพระวาจา (
  • พระวาจาในพิธีบูชาขอบพระคุณ พระเยซูเจ้า – องค์พระวจนาตถ์ (หรือพระวาจา) คือปังจากสวรรค์ เป็นอาหาร “เพื่อให้โลกมีชีวิต” (54-55)
  • พระคัมภีร์และหนังสือบทอ่าน บทอ่านที่จัดใหม่หลังสภาสังคายนาช่วยให้เราเข้าถึงพระคัมภีร์ทั้งหมดในช่วงเวลา 3 ปี (57)
  • การประกาศพระวาจาและศาสนบริการของผู้อ่าน – จำเป็นต้องจัดเตรียมบทอ่านและผู้อ่านอย่างดี (58)
  • การเทศน์อธิบายพระคัมภีร์เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม ผู้เทศน์ต้องเป็นคนแรกที่ฟังพระวาจา (
  • ศีลอภัยบาป และศีลเจิมคนไข้ ควรมีการอ่านพระคัมภีร์เตรียมจิตใจ (
  • การสวดทำวัตร – เราสนทนากับพระเจ้า – ฟังและพูดกับพระองค์ (62)
  • พระวาจาในหนังสือบทอวยพรสิ่งต่าง ๆ การเสกหรืออวยพรควรจะเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์แท้จริงที่รับความหมายและ ประสิทธิภาพมาจากการประกาศพระวาจา (
  • ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพื่อปลุกการมีส่วนร่วมมากขึ้นในพิธีกรรม (

ก.     การเฉลิมฉลองพระวาจา โดยเฉพาะเพื่อเตรียมเทศกาลสำคัญทางพิธีกรรม หรือในชุมชนที่ไม่อาจมีพิธีบูชาขอบพระคุณได้ในวันฉลองบังคับ (65)

ข.     พระวาจาและความเงียบ - ในพิธีกรรมต้องมีเวลาเงียบเพื่อไตร่ตรองพระวาจาด้วย (66)

ค.     การประกาศพระวาจาอย่างสง่า โดยเฉพาะการแห่พระวรสารมายังบรรณฐาน(67)

ง.      บรรณฐานคือตำแหน่งมีเกียรติสำหรับพระวาจาภายในวัด ควบคู่กับพระแท่นบูชา(68)

จ.     ในพิธีกรรมต้องใช้ตัวบทพระคัมภีร์เท่านั้น (69)

ฉ.    บทเพลงต้องได้แรงบันดาลใจจากพระคัมภีร์ (70)

ช.     ต้องเอาใจใส่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาและการฟังมีโอกาสสัมผัสกับพระวาจาด้วย (71)

 

2.3 พระวาจาของพระเจ้าในชีวิตของพระศาสนจักร

  • การพบกับพระวาจาในพระคัมภีร์ โดยอ่านบ่อย ๆ ทุกวันช่วยส่งเสริมชีวิตคริสตชน (
  • พระคัมภีร์ต้องเป็นพลังบันดาลใจในงานอภิบาล (
  • พระคัมภีร์ต้องเป็นพลังบันดาลใจและเนื้อหาในการสอนคำสอน (
  • ต้องอบรมคริสตชนให้มีความรู้และความสนใจพระคัมภีร์มากยิ่งขึ้น (
  • พระคัมภีร์ต้องมีบทบาทสำคัญในการชุมนุมสำคัญของพระศาสนจักรในทุกระดับ (
  • พระคัมภีร์และกระแสเรียก (

ก.     ศาสนบริการที่ได้รับศีลบวช : พระสังฆราช – พระสงฆ์ – สังฆานุกร ต้องตั้งใจแน่วแน่และรื้อฟื้นความตั้งใจที่จะทำตนให้ศักดิ์สิทธิ์ โดยเสาหลักประการหนึ่งของความศักดิ์สิทธิ์นี้คือการสัมผัสกับพระวาจาของพระ เจ้า (78)

  1. พระสังฆราช - ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเสมอแก่การอ่านและรำพึงพระวาจาของพระเจ้า และเอาใจใส่ศึกษาพระคัมภีร์เป็นการส่วนตัวอยู่เสมอ (
  2. พระสงฆ์ – ต้องพยายามให้มีความคุ้นเคยและความรู้พระวาจาของพระเจ้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นทุกวัน ต้องเข้าหาพระวาจาของพระเจ้าด้วยจิตใจที่ว่านอนสอนง่ายและรู้จักภาวนา เพื่อพระวาจาจะได้ซึมซาบเข้าถึงความคิดและความรู้สึกของพระสงฆ์อย่างลึกซึ้ง และทำให้เขามีมุมมองใหม่ ที่เป็น ‘ความคิดขององค์พระผู้เป็นเจ้า’ (1 คร. 2:16) (80)
  3. สังฆานุกร – ต้องหล่อเลี้ยงชีวิตของตนด้วยการอ่านพระคัมภีร์ด้วยความเชื่อควบคู่กับการศึกษาและการภาวนา (81)

ข.     ผู้สมัครรับศีลบวช - ต้องศึกษาพระคัมภีร์ด้านวิชาการและทำให้พระคัมภีร์มีบทบาทในชีวิตการภาวนา (82)

ค.     ผู้ถวายตน - ชีวิตของผู้ถวายตนเกิดขึ้นจากพระวาจาและรับพระวรสารเป็นกฎเกณฑ์ของชีวิต ให้มีการฝึกอบรมอย่างมีหลักการเรื่องการอ่านพระคัมภีร์ด้วยความเชื่อในทุกชุมชนของผู้ดำเนินชีวิตถวายตนแด่พระเจ้า (83)

ง.      พระวาจาช่วยให้ฆราวาสเติบโตขึ้นในการดำเนินชีวิตคริสตชน (84)

จ.     พระวาจาต้องช่วยให้เราเข้าใจความหมายของการแต่งงานและครอบครัว - สมัชชาปรารถนาให้ทุกบ้านมีพระคัมภีร์ (85)

ฉ.    การอ่านและภาวนาโดยใช้พระคัมภีร์ หรือ LECTIO DIVINA ช่วยให้เราสัมผัสกับพระวาจาและใกล้ชิดกับพระเจ้ามากยิ่งขึ้น (86-87)

  • ควรส่งเสริมการสวดภาวนาต่อพระแม่มารีย์ในหมู่ผู้มีความเชื่อ โดยเฉพาะในชีวิตครอบครัว เป็นการช่วยให้รำพึงถึงพระธรรมล้ำลึกที่มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ (
  • แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ เป็นแผ่นดินที่พระธรรมล้ำลึกการไถ่กู้ชาวเราได้สำเร็จไป และเป็นจุดเริ่มให้พระวาจาของพระเจ้าแผ่ไปจนสุดปลายแผ่นดิน (

 

3. ภาคที่สาม – พระวาจาสำหรับโลก

3.1 พันธกิจของพระศาสนจักรคือการประกาศพระวาจาของพระเจ้าให้โลกรู้

  • พระวาจามาจากพระบิดา – มุ่งไปหาพระบิดา - จะต้องบังเกิดผลตามพระประสงค์ (90)
  • พระวาจา (
  • การแพร่ธรมของพระศาสนจักรมาจากพระวาจาของพระเจ้า - การแพร่ธรรม = การประกาศพระวาจา (
  • การประกาศพระวาจาเป็นกิจการที่งดงามและต้องรีบทำ เพื่อให้พระอาณาจักรของพระเจ้าที่พระคริสตเจ้าทรงประกาศไว้ได้มาถึง (
  • ผู้รับศีลล้างบาปทุกคน มีหน้าที่ประกาศพระวาจา (

ก.     พระสังฆราชและพระสงฆ์ – ต้องดำเนินชีวิตเพื่อรับใช้พระวาจา เพื่อประกาศพระวรสาร ประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ และอบรมสั่งสอนสัตบุรุษให้มีความรู้แท้จริงเกี่ยวกับพระคัมภีร์

ข.     สังฆานุกร – ต้องร่วมมือในหน้าที่ประกาศข่าวดีนี้ด้วย

ค.     ผู้ถวายตนแด่พระเจ้า – ต้องประกาศพระวาจาและเทศน์สอนพระวาจานี้อย่างดี ในพันธกิจที่ยากลำบากแก่นานาชาติ

ง.      ฆราวาส – ต้องเป็นพยานถึงพระวรสารในชีวิตประจำวัน

จ.     ขบวนการของพระศาสนจักรและกลุ่มชนใหม่ต่างๆในพระศาสนจักร - เป็นพลังสำคัญในการประกาศข่าวดี และปลุกให้เกิดมีรูปแบบใหม่ๆของการประกาศพระวรสาร

  • จำเป็นจะต้องปฏิบัติงานธรรมทูตแก่นานาชาติในสมัยของเราด้วย - พระวาจาของพระเจ้าคือความจริงที่ช่วยให้รอดพ้น ที่มนุษย์แต่ละคนในทุกสมัยต้องการ ดังนั้นจึงต้องประกาศพระวาจาอย่างเปิดเผย (95)
  • ประชากรของพระเจ้าจำเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ในงานธรรมทูตสมัยใหม่ เมื่อเริ่มสหัสวรรษที่สามนี้ยังมีประชากรมากมายที่ยังไม่รู้จักข่าวดี และยังมีคริสตชนจำนวนมากที่ต้องการให้มีการประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ตนอีกอย่างมีประสิทธิภาพ (
  • พระวาจาของพระเจ้าต้องมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตเป็นพยานของคริสตชนด้วย - ความน่าเชื่อถือของการประกาศพระวาจาขึ้นอยู่กับการเป็นพยานเช่นนี้

 

3.2 พระวาจาของพระเจ้าและการมีบทบาทในโลก

  • พระวาจาของพระเจ้าย้ำถึงหน้าที่ของเราในโลก และความรับผิดชอบที่เราจำเป็นต้องมี - สิ่งที่เราทำหรือไม่ทำต่อ “พี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุด” ของพระองค์ (มธ. 25:35-36) เป็นการทำหรือไม่ทำต่อพระองค์ด้วย (99)
  • พระวาจาของพระเจ้าผลักดันมนุษย์ให้สร้างความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนความดีและ ยุติธรรม ที่จะทำให้โลกนี้มีความยุติธรรมและน่าอยู่ยิ่งขึ้น การปฏิบัติงานด้านสังคมและการเมืองโดยตรงเป็นบทบาทเฉพาะของบรรดาฆราวาสผู้มีความเชื่อที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระวรสาร (
  • จำเป็นอย่างยิ่งที่จะค้นพบพระวาจาของพระเจ้าในฐานะบ่อเกิดของการคืนดีและ สันติ เพราะในพระวาจานี้เองพระเจ้าทรงทำให้ทุกสิ่งคืนดีกับพระองค์ (
  • ต้องเปลี่ยนพระวาจาที่ได้ฟังให้เป็นกิจการแสดงความรัก เพราะด้วยวิธีนี้เท่านั้นการประกาศพระวรสารจึงน่าเชื่อถือ - ความรักเป็นความสมบูรณ์และจุดหมายของธรรมบัญญัติและของพระคัมภีร์ (103)
  • ต้องช่วยเยาวชนให้มีความมั่นใจและความคุ้นเคยกับพระคัมภีร์ เพื่อให้พระคัมภีร์เป็นประดุจเข็มทิศชี้ทิศทางชีวิตให้ดำเนินตาม และนำเขาให้รักพระวรสารและถ่ายทอดต่อไป โดยเฉพาะกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน พระวาจาของพระเจ้ายังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระแสเรียกของแต่ละคนด้วย (
  • บรรดาผู้ย้ายถิ่นฐานมีสิทธิที่จะรับฟังการประกาศข่าวดี (
  • จำเป็นที่จะต้องประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ผู้ที่กำลังทนทุกข์ทั้งทางร่างกาย ทางจิต หรือทางจิตวิญญาณ (
  • พระคัมภีร์แสดงให้เห็นความรักเป็นพิเศษของพระเจ้าต่อคนยากจนและขัดสน – จำเป็นต้องนำการประกาศพระวรสาร ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้อภิบาลและชุมชนต่างๆ ไปให้พี่น้องเหล่านี้ของเรา
  • พวกเราที่มีความเชื่อและเป็นผู้ประกาศข่าวดีย่อมมีความรับผิดชอบต่อสิ่งสร้างด้วย (

 

3.3 พระวาจาของพระเจ้าและวัฒนธรรม

  • ตลอดเวลาหลายศตวรรษ พระวาจาของพระเจ้าได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมหลากหลาย ได้สร้างคุณค่าพื้นฐานทางศีลธรรม งานยิ่งใหญ่ทางศิลปะ และวิถีชีวิตที่ดีเลิศ
  • จะต้องส่งเสริมความรู้เรื่องพระคัมภีร์ในหมู่ผู้ที่บทบาทในด้านวัฒนธรรม รวมทั้งในกลุ่มผู้ที่สนใจแต่เพียงพฤติกรรมทางโลก และในหมู่ผู้ไม่มีความเชื่อด้วย (
  • ในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย บรรดาผู้อภิบาลต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเพื่อส่งเสริมความรู้พระคัมภีร์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อจะได้เข้าใจว่าพระคัมภีร์มีความหมายในด้านวัฒนธรรมแม้ในปัจจุบันนี้ และครูผู้สอนเรื่องนี้ต้องได้รับการเตรียมตัวอย่างดีด้วย
  • ความสัมพันธ์ของพระวาจาของพระเจ้ากับวัฒนธรรมก่อให้เกิดผลงานมากมายในวงการทางศิลปะ (
  • จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ ใช้อุปกรณ์สื่อสารมวลชนทั้งเก่าและใหม่อย่างถูกต้องและชาญฉลาดด้วย เพื่อประกาศพระวาจา (
  • พระวาจาของพระเจ้ามีพลังภายในที่จะเข้าถึงมนุษย์ทุกคนในบริบททางวัฒนธรรมที่เขาดำเนินชีวิตอยู่ (
  • ขั้นตอนสำคัญประการหนึ่งในกระบวนการนำพระวาจาของพระเจ้าเข้าสู่วัฒนธรรมก็คือ การแปลและการเผยแผ่พระคัมภีร์ (
  • พระวาจาของพระเจ้าอยู่เหนือขอบเขตของวัฒนธรรม (
  1. 3.4พระวาจาและการเสวนาระหว่างศาสนาต่าง ๆ
  • พระศาสนจักรยอมรับว่าองค์ประกอบสำคัญยิ่งของการประกาศพระวาจาก็คือการเสวนากับมนุษย์ผู้มีน้ำใจดีทุกคน (
  • ในธรรมประเพณีของชาวยิว-คริสตชน เราพบหลักฐานยืนยันถึงความรักของพระเจ้าต่อชนทุกชาติแล้วในพันธสัญญากับโนอาห์ (
  • กับชาวมุสลิม – สมัชชาขอร้องให้สภาพระสังฆราชต่างๆ – ถ้าทำได้และเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ – ได้สนับสนุนให้คริสตชนและชาวมุสลิมได้พบปะประชุมกันเพื่อจะได้รู้จักกันดีขึ้น และส่งเสริมคุณค่าที่สังคมต้องการเพื่ออยู่ร่วมกันโดยสันติและมิตรภาพ (118)
  • กับศาสนาต่างๆ - พระศาสนจักรให้ความเคารพต่อศาสนาและธรรมประเพณีทางจิตวิญญาณเก่าแก่ในทวีป ต่าง ๆ ซึ่งยังคงรักษาคุณค่าที่อาจช่วยส่งเสริมความเข้าใจกันระหว่างผู้คนและชนชาติต่าง ๆไว้ (
  • การเสวนาจะเกิดผลไม่ได้ถ้าไม่มีความเคารพแท้จริงต่อแต่ละบุคคล และเปิดโอกาสให้เขาได้ปฏิบัติศาสนกิจของตนได้อย่างอิสระเสรี (

 

* บทสรุป

  • รากฐานของชีวิตจิตที่แท้จริงและเข้มแข็งก็คือพระวาจาของพระเจ้าที่ได้ประกาศ รับฟัง เฉลิมฉลอง และไตร่ตรองในพระศาสนจักร (
  • พระวาจาของพระเจ้าจะทรงพลังมากขึ้น ถ้าเราจะสำนึกมากยิ่งขึ้นว่าเราอยู่ต่อหน้าพระวาจาสุดท้าย ที่ยังคงตรัสแก่พวกเราแต่ละคนว่า “จงออกไปทั่วโลกประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” (มก. 16:15) (121)
  • ยุคสมัยของเราจึงเป็นสมัยที่ต้องฟังพระวาจาของพระเจ้า และประกาศข่าวดีในแบบใหม่ยิ่ง ๆ ขึ้น (
  • การประกาศพระวาจาก่อให้เกิดความสนิทสัมพันธ์และนำความยินดีมาให้ เป็นความยินดีที่ลึกซึ้งในส่วนลึกของชีวิตพระตรีเอกภาพ (
  • ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างพระวาจาของพระเจ้ากับความยินดีปรากฏอย่างชัดเจนในพระมารดาของพระเจ้า – พระนางมารีย์เป็นสุขเพราะมีความเชื่อ และเพราะความเชื่อนี้พระนางก็ได้รับพระวาจา (พระวจนาตถ์) ของพระเจ้าไว้ในพระครรภ์เพื่อมอบต่อไปให้แก่โลก (
  • พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้ทุกคนเห็นความยิ่งใหญ่ของพระแม่มารีย์ และดังนี้ทรงเปิดโอกาสให้เราแต่ละคนเข้าถึงความสุขที่เกิดจากพระวาจาที่เรารับและปฏิบัติตามได้
  • ความสนิทสนมของเรากับพระเจ้าทั้งส่วนตัวและส่วนรวมขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยที่เรามีกับพระวาจา – แต่ละวันของเราจึงต้องถูกจัดระเบียบจากการพบเป็นประจำกับพระคริสตเจ้า พระวาจา (พระวจนาตถ์) ของพระบิดาเจ้า (124)

คุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส – บ้านอับราฮัม สามพราน

และ อาจารย์ มนต์สิงห์ ไกรสมสุข – บ้านผู้หว่าน สามพราน 6 สิงหาคม ค.ศ. 2011

search

เนื้อหา Update ล่าสุด

เรียนพระคัมภีร์กับคุณพ่อวสันต์

frwasan01

คลิปวีดีโอเสียงประกาศก