จากพระดำรัสของนักบุญสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ที่ตรัสกับคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์พระคัมภีร์คาทอลิก (Catholic Biblical Federation - CBF) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 1986 ว่า “มีความความจำเป็นอย่างใหญ่ยิ่งที่เราจะต้องมีการอบรมอย่างเข้มข้นในด้านพระวาจาของพระเจ้าเพื่อทุกคนที่สอนเรื่องความรอดพ้นแห่งพระวรสาร ศาสนบริการด้านพระวาจาของพระเจ้า พระสงฆ์ สังฆานุกรและฆราวาสประชาชนทั่วไป ควรที่จะจุ่มจมอยู่ในพระวาจาโดยการอ่านและศึกษาพระคัมภีร์ควบคู่ไปกับการสวดภาวนาเท่าที่เป็นไปได้ พวกเขาต้องทำความคุ้นเคยกับข้อมูลเชิงลึกของการศึกษาพระคัมภีร์แบบยุคใหม่”
พระคำรำพึง วันพุธรับเถ้า เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหารและอดเนื้อ
[Live]ถ่ายทอดสดรายการพิเศษ "ห้องนั่งเล่น"
ในบรรยากาศสบายๆ กับคุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกร และ คุณพ่ออนุชา ไชยเดช พูดคุยกับ คนรุ่นใหม่ แอดมินเพจคาทอลิกต่างๆ บนโลกโซเชียลมีเดีย
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2019 แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยมีคุณพ่อสมเกียรติ ตรีนิกร ผู้จัดการแผนกฯ ปิดคอร์สการอบรมพระคัมภีร์หนังสือประกาศกโฮเชยาและประกาศกมีคาห์ โดยคุณพ่อวสันต์ พิรุฬห์วงศ์ วิทยากร มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมครั้งนี้จำนวน 58 คน ณ ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมระดับชาติ ซอยวัดเทียนดัด ปัจจุบันมีซิสเตอร์วรรณี ฉัตรสุภางค์ อธิการ โดยช่วงท้ายคุณพ่อวสันต์ พิรุฬห์วงศ์ มอบวุฒิบัตรให้กับผู้เข้ารับการอบรม
วันพุธรับเถ้า เริ่มต้นเทศกาลมหาพรต
วันพุธรับเถ้า เป็นวันเริ่มเทศกาลมหาพรต คือ ระยะเวลาสี่สิบวันเพื่อเตรียมสมโภชปัสกา ซึ่งเป็นวันฉลองที่ยิ่งใหญ่ และสำคัญที่สุดในรอบปีของพระศาสนจักร เพราะสมโภชปัสกาเป็นการเฉลิมฉลองการที่พระเยซูเจ้าทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนม์ชีพ เพื่อกอบกู้มนุษยชาติให้คืนดีกับพระเจ้ามารับชีวิตร่วมกับพระองค์ เทศกาลนี้มีชื่อเป็นภาษาลาตินว่า “Quadragesima” ซึ่งแปลว่า “ที่สี่สิบ” (ภาษาอังกฤษเรียกเทศกาลนี้ว่า “Lent”) เป็นเทศกาลที่ครอบคลุม 6 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันตก (ยุโรป หรือ 7 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันออก โดยเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์แรกของเทศกาลมหาพรต
ชาวอิสราเอลในปัจจุบันนี้ก็ยังฉลองปัสกาทุกปี เพื่อระลึกถึงการอพยพออกจากประเทศอียิปต์ การที่พระเจ้าทรงกระทำพันธสัญญากับพวกเขาให้เป็นประชากรของพระองค์ และระลึกถึงการเดินทางผ่านถิ่นทุรกันดารเพื่อเข้าในดินแดนแห่งพระสัญญา ในขณะที่คริสตชนฉลองปัสกาเพื่อระลึกถึงการผ่านจากความตายเข้าสู่ชีวิตพร้อมกับองค์พระคริสต์เจ้า ดังนั้น ในเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นการเตรียมสมโภชปัสกานี้พระศาสนจักรจึงย้ำถึงความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตโดยการกลับใจละทิ้งบาป และกิจการชั่วร้ายต่างๆ ที่ทำให้เราเหินห่างจากพระเจ้า จะได้หันกลับมาหาพระองค์เพื่อรื้อฟื้นชีวิตใหม่ในพระคริสตเจ้าให้เข้มแข็งยิ่งๆ ขึ้นทุกปี เทศกาลมหาพรตจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวคริสตชนสำรอง เพื่อรับศีลล้างบาปในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองปัสกาที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงมีชัยชนะต่อบาป และความตายกลับคืนพระชนม์ชีพนอกจากนั้นยังเป็นโอกาสที่พระศาสนจักรจะอภัยบาปแก่คริสตชนที่ทำบาปหนัก และต้องการจะคืนดีกับพระเจ้าและพระศาสนจักร เพราะฉะนั้นเทศกาลมหาพรตจึงเป็นระยะเวลาที่คนบาปเช่นนี้แสดงการกลับใจ โดยปฏิบัติกิจใช้โทษบาปที่พระศาสนจักรกำหนดให้ กิจการที่ว่านี้ได้แก่การอธิษฐานภาวนาการให้ทานและการจำศีลอดอาหาร
การจำศีลอดอาหารเพื่อเตรียมฉลองปัสกานี้แต่เดิมถือกันเพียงสองหรือสามวันก่อนสมโภชปัสกาเท่านั้น ตามที่เราทราบจากงานเขียนของ Eusebius นักประวัติศาสตร์พระศาสนจักรที่บอกว่า นักบุญอิเรเนโอในปลายศตวรรษที่ 2 กำหนดไว้เช่นนี้ แต่ต่อมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 4 เมื่อมีการกำหนดเทศกาลมหาพรตเพื่อเตรียมฉลองปัสกาขึ้นโดยเฉพาะ ระยะเวลาการจำศีลก็ขยายออกไปถึง 40 วันตลอดเทศกาลมหาพรต และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด กินอาหารอิ่มได้เพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้น เพื่อระลึกถึงการจำศีลอดอาหารของโมเสสของประกาศกเอลียาห์และของพระเยซูเจ้า แต่เนื่องจากคริสตชนมีธรรมเนียมไม่จำศีลอดอาหารในวันอาทิตย์ (และวันเสาร์ด้วยในพระศาสนจักรตะวันออก) วันจำศีลอดอาหารในเทศกาลมหาพรต 6 สัปดาห์ (หรือ 7 สัปดาห์ในพระศาสนจักรตะวันออก) จึงเหลือจริงเพียง 36 วัน และต้องเพิ่มวันจำศีลในวันธรรมดาก่อนอาทิตย์แรกในเทศกาลมหาพรตอีก 4 วัน คือวันพุธ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ให้ครบ 40 วัน เทศกาลมหาพรตจึงเลื่อนมาเริ่มในวันพุธซึ่งเป็นวันธรรมดา แทนที่จะเริ่มในวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเช่นเดียวกับในเทศกาลอื่นๆ